Acriopsis indica Wight |
ชื่อพ้อง : เข็มหนู นมหนูหัวกลม |
ชื่อไทย : จุกพราหมณ์ |
พบครั้งแรกแถบเทือกเขาตะนาวศรี ประเทศพม่า ต่อมา Robert Wight นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งชื่อว่า "A.indica" |
ลักษณะ : ลำลูกกล้วยรูปทรงกลม ใบรูปแถบมี 2 ใบ ขนาด 1 x 10 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกยาว 10 - 12 ซม. ทอดเอียงห้อยลง มีดอกจำนวนมาก ดอกขนาด 0.8 - 1 ซม. กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกันเป็นรูปแถบ ดอกสีเขียวอมเหลือง เช่นเดียวกับกลีลบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปซ้อน สีเหลืองอ่อน มีจุดสีน้ำตาลเรื่อๆ ปลายกลีบมน กลีบปากสีขาว รูปขอบขนาน ขอบกลีบไม่เรียบ กลางแผ่นกลีบมีสันเตี้ยๆ 2 สัน กลางเส้าเกสรมีรยางค์เขี้ยวยื่นยวอย่างเด่นชัด |
การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ |
ประเทศไทยพบที่ : เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครราชสีมา จันทบุรี กาญจนบุรี ระนอง ชุมพร สถราษฎร์ธานี ตรัง ภูเก็ต นราธิวาส |
ลักษณะถิ่นอาศัย : พบขึ้นตาม ป่าไม่ผลัดใบในที่โล่งแจ้ง มีแสงแดดจัด บริเวณที่ความสูง1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ไม่นิยมปลูกเลี้ยงตามบ้านเรือน ในธรรมชาติมีจำนวนน้อย พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก |
ฤดูออกดอก : เดือน ก.ย. - พ.ย. ช่วงที่ออกดอกจะผลัดใบ |
|
Nhận xét
Đăng nhận xét